
ก ไก่
|
ข ไข่
|
ฃ ขวด
|
ค ควาย
|
ฅ คน
|
ฆ ระฆัง
|
ง งู
|
จ จาน
|
ฉ ฉิ่ง
|
ช ช้าง
|
ซ โซ่
|
ฌ เฌอ
|
ญ หญิง
|
ฎ ชฎา
|
ฏ ปฏัก
|
ฐ ฐาน
|
ฑ มณโฑ
|
ฒ ผู้เฒ่า
|
ณ เณร
|
ด เด็ก
|
ต เต่า
|
ถ ถุง
|
ท ทหาร
|
ธ ธง
|
น หนู
|
บ ใบไม้
|
ป ปลา
|
ผ ผึ้ง
|
ฝ ฝา
|
พ พาน
|
ฟ ฟัน
|
ภ สำเภา
|
ม ม้า
|
ย ยักษ์
|
ร เรือ
|
ล ลิง
|
ว แหวน
|
ศ ศาลา
|
ษ ฤๅษี
|
ส เสือ
|
ห หีบ
|
ฬ จุฬา
|
อ อ่าง
|
ฮ นกฮูก
|

พยัญชนะไทยทั้ง
44 ตัว มีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง ดังนี้
|

พยัญชนะมีหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น
เช่น น้อง สวย มาก จมูก ตลาด ปรอท และพยัญชนะท้าย เช่น บ้าน หลัง เล็ก




นอกจากนี้
พยัญชนะยังทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น กม. พ.ศ. ด.ญ.

อักษรนำ คือ การนำพยัญชนะ 2 ตัวมาเรียงกัน
แล้วประสมด้วยสระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงต้องออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียง อะ
กึ่งมาตรา เช่น
อักษรที่มี อ นำ มี 4 คำ
ได้แก่
อย่า
|
อยู่
|
อย่าง
|
อยาก
|

อักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะอื่นควบกับ ร ล ว
รวมอยู่ในสระเดียวกัน อักษรควบแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ





พยัญชนะท้ายคำ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว
ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์
ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่
แม่กง มีเสียง ง เป็นตัวสะกด
เช่น รัง ดวง บาง
แม่กน มีเสียง น เป็นตัวสะกด
เช่น รวน ลาน คน
แม่กม มีเสียง ม เป็นตัวสะกด
เช่น ผม ชาม เจิม
แม่เกย มีเสียง ย เป็นตัวสะกด
เช่น เฉย วาย สวย
แม่เกอว มีเสียง ว เป็นตัวสะกด
เช่น ยาว หนาว ข้าว
แม่กก มีเสียง ก เป็นตัวสะกด
เช่น รัก มาก โลก
แม่กด มีเสียง ด เป็นตัวสะกด
เช่น ลด มด ทวด
แม่กบ มีเสียง บ เป็นตัวสะกด
เช่น จับ สาบ ชอบ
ตัวสะกดที่มีรูปไม่ตรงกับชื่อของมาตราตัวสะกด
เช่น บาท อยู่ในมาตราแม่กด เรียกตัวสะกดนี้ว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ส่วนคำที่ไม่มีตัวสะกด เรียกได้ว่าเป็นคำที่อยู่ใน แม่ ก กา
ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา
เมื่อมี ติ ตุ ต ท ธ ศ ษ ส จ ช ซ ฐ ฎ ฏ ฑ ฒ ฒิ ถ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ด สะกด เช่น
เมื่อมี ญ ณ ร ล เป็นตัวสะกด
เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี น สะกด
เช่น
เมื่อมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด
เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี บ สะกด
เช่น
เมื่อมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกด
เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ก สะกด
เช่น

ตัวการันต์ คือ ตัวอักษรทั้งพยัญชนะและสระที่ไม่อ่านออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาต
(-์) กำกับไว้ข้างบน เช่น
หมายเหตุ -์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต
ไม่ใช่ตัวการันต์
ตัวการันต์ มีหลักการใช้ดังนี้
เขียนบนพยัญชนะตัวเดียว
เช่น ศิษย์ ทิพย์ รัตน์
เขียนบนพยัญชนะสองตัวเรียงกัน
เช่น ภาพยนตร์ พักตร์ กาญจน์
เขียนบนพยัญชนะสามตัวเรียงกัน
เช่น พระลักษมณ์
คลิก มาลองฝึกอ่านกันเถอะ !!
คลิก มาลองฝึกอ่านกันเถอะ !!
...................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น